วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555


                มะเร็งเต้านม (Breast cancer) 

              โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมตัวเอง






สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
              มะเร็งเต้านมบางครั้งเกิดจากความผิดปกติของยีน โดยยีนในเซลล์จะเป็นตัวนำข้อมูลทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่ กรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ 5-10% โดยยีนที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมพบได้มากในบางเชื้อชาติผู้หญิงที่มียีนที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและผู้ที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง มักจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมในอีกข้างหนึ่งด้วย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่และมะเร็งชนิดอื่นได้มากขึ้นสำหรับผู้ชายที่มียีนที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีการตรวจหายีนที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม โดยจะตรวจให้กับสมาชิกของครอบครัวที่มีประวัติเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม 





ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงขึ้น

1. อายุมาก
2.  มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย
3.  มีลูกคนแรกเมื่ออายุมาก หรือไม่มีบุตร
4.  มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อนหรือ
5.  มีประวัติมะเร็งเต้านมในญาติสายตรง เช่น มารดา หรือพี่สาว, น้องสาว
6.  เคยได้รับการรักษาด้วยรังสีบริเวณหน้าอกหรือเต้านม
7.  เนื้อเยื่อเต้านมที่หนาแน่นจากการตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)
8.  ได้รับฮอร์โมนจากภายนอก เช่น เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน
9.  การดื่มสุรามากเกิน
10. เชื้อชาติคนผิวขาวมีโอกาสมากกว่า  




การคลำเต้านมด้วยตนเอง

1. นอนบนเตียงหรือพื้นสบายๆ และเอามือขวาไว้ใต้ศีรษะ ท่านี้จะทำให้เนื้อเต้านมของท่านถูกดึงออกจากกลางหน้าอกของท่าน ทำให้สามารถที่จะคลำสำรวจได้ดีขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าอกจะตึง และดันเต้านมให้ลอยขึ้น มองสำรวจเต้านมด้านขวาของท่านอึกครั้ง 


2. ใช้มือซ้ายของท่านคลำเต้านมด้านขวาอย่างแรงและลึกพอสมควร 



โดยใช้รูปแบบการคลำแบบใดก็ได้ใน 3 แบบต่อไปนี้ 
        คลำแบบก้นหอย
โดยเริ่มต้นจากการคลำเป็นวงกลมกว้างๆ ด้านนอกขอบเต้านมก่อน แล้ววนให้วงกลมนี้แคบเข้า โดยใช้นิ้วมือของท่านทั้งคลำและกดลงที่เต้านมเป็นวงกลมเล็กๆ ในขณะที่คลำตามวงรอบใหญ่จนกระทั่งถึงหัวนม 


      คลำแบบดาวกระจาย
จินตนาการ แบ่งเต้านมเป็นช่วงๆ ตามเข็มนาฬิกา เริ่มต้นคลำจาก 12 นาฬิกาไปที่ 1, 2, 3 นาฬิกาเรื่อยๆ จนครบพื้นที่เต้านม 



      คลำแบบขึ้นและลง
จินตนาการว่า เต้านมเป็นลูกคลื่นในทะเล คลำเต้านมขึ้นและลงตามยอดคลื่น อย่าลืมใช้นิ้วมือคลำเป็นวงกลมเล็กๆ ไปพร้อมๆ กันด้วย 


3. คลำที่ใต้รักแร้ ถ้าท่านมีต่อมน้ำเหลืองโต ท่านจะคลำได้เป็นก้อนที่ใต้รักแร้ 


4. เอามือซ้ายไว้ใต้ศีรษะ และใช้มือขวาคลำเต้านมซ้ายเช่นเดิม อย่าลืมคลำใต้รักแร้ด้วย 


5. ยืนขึ้นและใช้มือคลำตามวิธีดังข้อ 2 อีกครั้ง ถ้าเต้านมท่านมีขนาดใหญ่ให้ใช้มืออีกข้างช่วยประคองเนื้อเต้านมไว้ด้านล่าง 


6. ใช้นิ้วมือบีบหัวนม เพื่อดูว่ามีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนมทั้งสองข้างหรือไม่    





การดูเต้านมตนเอง

1. ถอดเสื้อและยกทรงออก ยืนส่องกระจกดูเต้านมแต่ละข้าง สังเกตการเปลี่ยนแปลงลักษณะของรูปร่าง, ขนาดหรือสีของหัวนม สังเกตดูระดับของหัวนมแต่ละข้างว่าเท่ากันหรือไม่ มีปื้นหรือผื่นบนหัวนมหรือไม่ มีผิวหนังบุ๋มลงหรือไม่ 


2. ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ หันด้านข้างส่องกระจกดูทีละข้าง สังเกตเต้านมทั้งหมดที่เห็น ว่ามีอะไรผิดปกติ เหมือนในข้อ 1 หรือไม่ 


3. หันหน้าตรงเข้ากระจกอีกครั้ง เอามือจับสะโพกทั้งสองข้าง และกดสะโพกไว้แรงๆ จนท่านรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่หน้าอกของท่านแข็งเกร็งขึ้นมา สังเกตความผิดปกติอีกครั้ง 


4. โน้มตัวโค้งไปข้างหน้า ให้หน้าอกสองข้างห้อยดิ่งลง สังเกตดูว่ามีรอยบุ๋ม หรือโป่งพองของผิวหนังที่เต้านมหรือไม่ สังเกตดูรูปร่างของเต้านม และสังเกตว่ามีรอยบุ๋มที่หัวนมทั้งสองข้างหรือไม่ 





อาการแสดงที่มาพบแพทย์
               ศูนย์อนามัยที่ 4 ได้ร่วมกับจังหวัดในเขตสาธารณสุขที่ 4,5 ได้แก่ จังหวัด ราชบุรี กาญจนบุรี  สุพรรณบุรี นครปฐม  สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี  และประจวบคีรีขันธ์  ทำการสำรวจผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม จำนวน  1,387 ราย และกลุ่มที่เป็นโรคที่เต้านมอื่นๆที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านมอีกจำนวน 7,358 ราย รวมทั้งหมด 8,745 ราย   ซึ่งเมื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม พบอาการและอาการแสดงของมะเร็งเต้านมเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้


ก้อนที่เต้านม
             ร้อยละ 69  ของ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มาด้วยเรื่องก้อนที่เต้านม ซึ่งเป็นอาการ/อาการแสดงที่ทำให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์มากที่สุด  ผู้ที่มีก้อนที่เต้านม ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าก้อนนั้นเป็น เนื้องอก เป็นถุงน้ำ (Cyst) หรือเป็นมะเร็ง   แม้แต่แพทย์ที่มีความชำนาญก็แยกลำบากว่าก้อนที่คลำพบนั้นประเภทใด   ต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน  เช่น การตรวจด้วยแมมโมแกรม หรือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)  หรืออาจจะต้องตรวจชิ้นเนื้อกรณีที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน  จะทำให้พบก้อนผิดปกติที่เต้านมขนาดเล็ก ดังรูปด้านซ้าย   ในกรณีที่ไม่เคยตรวจเต้านมเองจะมาพบแพทย์เมื่อก้อนขนาดใหญ่ (บางครั้งพบนานแล้วแต่อายไม่กล้ามาพบแพทย์จึงมาเมื่อก้อนขนาดใหญ่)




เจ็บหรือปวดที่เต้านม
            ร้อยละ  14.6  ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาด้วยอาการเจ็บ หรือ ปวดเต้านม   ส่วนกลุ่มที่ีไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม ร้อยละ 15.7  (ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัสำคัญทางสถิติ)  หรือจะสรุปได้ว่า  อาการเจ็บหรือปวดเต้านม เป็นอาการที่พบได้บ่อยในมะเร็งเต้านมก็จริง แต่อาการปวด หรือเจ็บเต้านม นั้นพบพอๆกันระหว่างกลุ่มที่เป็นมะเร็งเต้านม และกลุ่มทีไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม



พบรอยบุ๋มที่ผิวหนังบริเวณเต้านมหรือเต้านมที่ถูกดึงรั้ง
             ร้อยละ 2.2 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มาด้วยอาการเต้านมถูกดึงรั้งหรือเป็นรอยบุ๋ม   ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม พบเพียง ร้อยละ 0.4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  หรือจะสรุปได้ว่า  อาการแสดงของการถูกดึงรั้งหรือเป็นรอยบุ๋ม นั้นเป็นอาการแสดงของมะเร็ง เต้านมที่พบได้ไม่บ่อย แต่ถ้าพบแล้ว โอกาสที่เป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า (จากภาพ จะเห็นว่าเมื่อยกมือขึ้นจะเห็นรอยดึงรั้งชัดเจน)


มีเลือดหรือ discharge ออกที่เต้านม
              ร้อยละ 1.8  ของมะเร็งเต้านมมีเลือดออกทางหัวนม  ส่วนกลุ่มที่ไม่เป็นมะเร็งเต้านม พบเพียงร้อยละ 0.9  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือสรุปได้ว่า  ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาด้วยเรื่องมีเลือดที่หัวนมแม้จะพบน้อย แต่ถ้าพบแล้วมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่า






เต้านมอับเสบ
             ร้อยละ  1.7 ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาด้วยเรื่อง เต้านมอักเสบ  ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม มาด้วยเรื่องเต้านมอักเสบ ร้อยละ 1.2  ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   ถ้าซักประวัติแล้วว่า เต้านมอักเสบโดยไม่มีเหตุ  เช่นหลังคลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะพบเต้านมอักเสบบ่อย  แต่ถ้าไม่มีสาเหตุให้คิดถึงว่าสามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน ซึ่ง มะเร็งเต้านมที่อักเสบนั้น มักจะพบในหญิงที่มีอายุน้อย  และมีความรุนแรงด้วย


             พบการเปลี่ยนแปลงของสีหรือรูปร่างของเต้านม
              ร้อยละ  1.3 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาด้วยอาการว่าพบการเปลี่ยนแปลงของสีผิว หรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลง เช่นเต้านมทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน (จากภาพแสดงถึงสีผิวที่เปลี่ยนไป และมีก้อนด้วย  ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม พบเพียงร้อยละ 0.3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต  มะเร็งเต้านม  ถ้ามีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง จะทำให้การคลั่งของระบบไหลเวียนเลือดหรือระบบน้ำเหลือง ซึ่งการคั่งดังกล่าว จะทำให้ผิวหนังบริเวณมีสีที่เปลี่ยนไป หรือบางครั้งมีการอักเสบขึ้นก็ได้   นอกจากสีจะเปลี่ยนแล้ว ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงเต้านม เช่นผิวหนังดูหนากว่าปกติ หรือคลำเต้านมแล้วรู้สึกแข็งกว่าเต้านมด้านปกติ


หัวนมผิดปกติ
            ร้อยละ 0.6  ของ ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมมาด้วยเรื่องหัวนมถูกดึงรั้ง  ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช่เป็นมะเร็งเต้านม มาด้วยหัวนมถูกดึงรั้ง ร้อยละ 0.2  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     กล่าวโดยสรุป อาการแสดงของหัวนมถูกดึงรั้งนั้น แม้จะพบน้อย แต่ถ้าพบแล้ว มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่า


ไม่พบอาการ/อาการแสดง แต่มาพบแพทย์ เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรม
             ก้อนที่เต้านม ถ้ามีขนาดเล็กเช่นเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จะคลำด้วยมือไม่พบ  แต่ถ้ามาตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรม  จะสามารถพบความผิดปกติของก้อนเต้านมที่มีขนาดล็กกว่า  1 ซ.ม.   ซึ่งในระยะหลังๆ สามารถวินิจฉัยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น หรือขนาดของก้อนเล็กกว่า 1 ซ.ม.ได้  ในการรายงานผลการตรวจ Mammogram  จะใช้แนวทางเดียวกันที่ The American College of Radiologists  กำหนด ที่เรียกว่า BIRADS (Breast Imaging Reporting and Data System) เพื่อเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่อที่จะ rating mammograms and breast ultrasound images  และกำหนดวิธีการแบ่งประเภท (classification) เพื่อหา  Level of Suspicion (LOS)



Category
Diagnosis
Number of Criteria
0
Incomplete
แมมโมแกรมที่ทำนั้นไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถให้ข้อมูลแก่รังสีแพทย์์เพื่อการวินิจฉัยได้ และควรที่จะทำแมมโมแกรมใหม่ถ้าจำเป็น
1
Negative
ไม่พบความผิดปกติ  แนะนำให้ทำแมมโมแกรมตามแผนการคัดกรองปกติ
2
Benign
ตรวจพบว่าเป็นก้อนที่ไม่ใช่มะเร็ง  แนะนำให้ทำแมมโมแกรมตามแผนการคัดกรองปกติ






             

             การรักษามะเร็งเต้านมมีการรักษาหลัก
            อยู่ 4 วิธี ประกอบด้วย


                    1. การผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะได้รับการผ่าตัดเพื่อนำเนื้องอกออกจากหน้าอกร่วมกับต่อมน้ำเหลืองบางส่วนเพื่อดูว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่การผ่าตัดหลักๆ มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่
                    1.1 การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นการผ่าตัดที่นำเอาเนื้องอกออกซึ่งประกอบไปด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
                    1) การตัดเฉพาะตัวเนื้องอกออก เป็นการผ่าตัดนำเอาเนื้องอกและเนื้อเยื่อที่ปกติรอบๆเนื้องอกออก
                    2) การตัดเอาเต้านมบางส่วนออก เป็นการผ่าตัดนำเอาเต้านมที่มีเนื้องอกออกบางส่วนร่วมกับเนื้อเยื่อที่ผิดปกติรอบ ๆนอกจากนี้ยังมีการนำเอาต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณใต้รักแร้ออกมาตรวจพร้อมกับการผ่าตัดเต้านมอีกด้วย
                   1.2 การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งข้าง  เป็นการผ่าตัดที่นำเอาเต้านมข้างที่มีเนื้องอกออกทั้งหมดร่วมกับต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้เพื่อการตรวจวินิจฉัย
                   1.3  การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งข้างแบบปรับปรุง (Modified radical mastectomy) เป็นการผ่าตัดที่นำเอาเต้านมข้างที่มีเนื้องอกออกทั้งหมดร่วมกับต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้, ต่อมน้ำเหลืองใต้ผนังหน้าอกและกล้ามเนื้อผนังหน้าอก
                    1.4 การผ่าตัดเต้านมแบบกว้าง (Radical mastectomy) เป็นการผ่าตัดที่นำเอาเต้านมข้างที่มีเนื้องอก, กล้ามเนื้อใต้หน้าอก และต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดที่รักแร้ออก

                     2. การฉายแสงหรือการฉายรังสีป็นการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งหรือป้องกันเซลล์มะเร็งเติบโตแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
                   2.1 การฉายแสงภายนอก  เป็นการใช้เครื่องฉายรังสีส่งรังสีไปยังบริเวณก้อนเนื้องอก ผนังหน้าอก หรือต่อมน้ำเหลือง มักใช้ภายหลังได้รับการผ่าตัด และได้ยาเคมีบำบัดแล้ว ในผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. มีการลุกลามที่ต่อมน้ำเหลืองหรือผ่าตัดก้อนมะเร็งได้ขอบเขตไม่เพียงพอ และกรณีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม
                  2.2 การฉายแสงภายในหรือการฝังแร่  เป็นการใช้สารกัมมันตรังสีติดกับอุปกรณ์บางชนิด เช่น เข็ม, ลวด จากนั้นนำไปวางไว้ในบริเวณที่เป็นเนื้องอกหรือบริเวณข้างเคียง

                     3. การใช้ยาเคมีบำบัด 
เป็นการใช้ยาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเนื้องอกโดยการกำจัดหรือหยุดเนื้องอกจากการแบ่งตัววิธีการให้ยามีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดหรือฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อ วิธีการให้ยาขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค

                     4. การรักษาด้วยฮอร์โมนเป็นการรักษาโดยการนำเอาฮอร์โมนหรือหยุดการทำงานของฮอร์โมนเป็นผลทำให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต ถ้าตรวจพบว่าเซลล์มะเร็งมีตัวรับการตอบสนองต่อฮอร์โมน (receptors) อาจเลือกวิธีการรักษาเพื่อลดการทำงานของฮอร์โมนได้หลายวิธีดังนี้ การใช้ยาการผ่าตัดและการฉายรังสี เช่น มะเร็งเต้านมซึ่งตอบสนองต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนและเอสโตรเจนสร้างมาจากรังไข่ อาจใช้วิธีการผ่าตัดรังไข่ออกเพื่อหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือการรักษาด้วยยา Tamoxifen ซึ่งใช้รักษามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น และระยะลุกลาม แต่มีข้อพึงระวังเนื่องจากการกินยา Tamoxifen สามารถออกฤทธิ์ได้กับเซลล์ทั่วร่างกายทำให้อาจเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้หรือการรักษาด้วยยา Aromatase Inhibitor ซึ่งให้ในผู้หญิงวัยหมดระดูที่เป็นมะเร็งชนิดที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน โดยยาชนิดนี้จะไปยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนแอนโดนเจนไปเป็นเอสโตรเจน ซึ่งยาชนิดนี้สามารถใช้ในระยะต้นของโรคมะเร็งเต้านมโดยเป็นการรักษาเสริมแทนยา Tamoxifen หรือหลังจากสองปี หรือมากกว่าของการใช้ยา Tamoxifenการรักษาแบบใหม่ที่ยังอยู่ในขั้นทดลอง

              - Sentinel Lymph node biopsy followed by surgery  เป็นการนำต่อมน้ำเหลืองต่อมแรกที่มีการแพร่กระจายจากเนื้องอกออก โดยใช้สารกัมมันตรังสีฉีดเข้าใกล้กับเนื้องอก ซึ่งต่อมน้ำเหลืองต่อมแรกที่ได้รับสารกัมมันตรังสีจะถูกตัดออก
-แพทย์ จะทำการตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็ง   ถ้าไม่พบเซลล์มะเร็งก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำต่อมน้ำเหลืองอื่น ๆ  ออกหลังจากนั้นศัลยแพทย์จะผ่าตัดเนื้องอกออกตามวิธีข้างต้น

             - High dose chemotherapy with stem cell transplant  เป็นการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับการให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดทดแทนเซลล์เดิมที่ถูกทำลายจากการรักษามะเร็งซึ่งมีวิธีการ ดังนี้
             1. นำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดออกจากไขกระดูกของผู้ป่วยหรือผู้บริจาคแล้วแช่แข็งเก็บไว้
             2. หลังจากให้ยาเคมีบำบัดเสร็จสิ้นนำเอาเซลล์ต้นกำเนิดกลับไปให้ผู้ป่วยอีกครั้งการศึกษานี้พบว่าผลการรักษาไม่แตกต่างจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว

            - Monoclonal Antibodies as adjuvant therapy  เป็นการรักษาโดยการใช้ Antibodies โดย Antibodies เหล่านี้ จะไปจับกับสารที่ทำให้ตัวเนื้องอกเจริญเติบโต ผลโดยรวมจะทำให้เซลล์มะเร็งตาย หยุดการเจริญเติบโตหรือหยุดการแพร่กระจาย การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถให้ร่วมกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ยา Trastuzumab (Herceptin) ซึ่งมีผลในการยับยั้งการทำงานของโปรตีน HER-2 ซึ่งโปรตีน HER-2 เป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม

           - Tyrosine kinase inhibitors as adjuvant therapy   เป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกอย่างเฉพาะเจาะจง (Targeted therapy) สามารถใช้ร่วมกับยากต้านมะเร็งตัวอื่นเป็นการรักษาเสริมได้ ตัวอย่างเช่น Lapatinib ซึ่งยับยั้งการทำงานของ HER-2  สามารถใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีผล  HER-2 receptor  เป็นบวกในรายที่ได้รับการรักษาด้วย Trastuzumab แล้วไม่ได้ผล






           การรักษาโดยแบ่งตามระยะของโรค


                            1. Ductal Carcinoma in situ
- การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมและการฉายแสง อาจมีการใช้ยา Tamoxifen ร่วมด้วยหรือไม่ขึ้นกับผลการตรวจ receptor
- การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด อาจมีการใช้ยา Tamoxifen ร่วมด้วยหรือไม่ขึ้นกับผลการตรวจ receptor
- การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม โดยไม่มีการฉายแสงร่วมด้วยในผู้ป่วยบางกรณี





                            2. Lobular carcinoma in situ
- การเฝ้าระวังโดยการตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจร่างกายและ Mammogram เป็นประจำเพื่อความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด
- ให้การรักษาด้วยยา Tamoxifen เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งเต้านม
- ผ่าตัดเต้านมออกทั้ง 2 ข้างเพื่อเป็นการป้องกัน ซึ่งเป็นการรักษาที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง





                           3. ระยะ I,II,IIIA และ IIIC ที่ผ่าตัดได้
- การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองและการฉายแสง
- การผ่าตัดเต้านมแบบปรับปรุงการรักษาเสริมเป็นการรักษาที่ให้หลังผ่าตัดเพื่อเพิ่มอัตราการหายขาด เช่น
- การฉายแสงที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้กับเต้านมและผนังหน้าอกหลังจากการผ่าตัดเต้านมแบบปรับปรุง
- การให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับพิจารณาให้การรักษาเพิ่มเติมด้วยฮอร์โมน
- การรักษาด้วยฮอร์โมน






                             4. ระยะ IIIB และ IIIC ที่ผ่าตัดไม่ได้
- การให้ยาเคมีบำบัด
- การให้ยาเคมีบำบัดและตามด้วยการผ่าตัด (การผ่าตัดอาจเป็นได้ทั้งแบบอนุรักษ์หรือการผ่าตัดเต้านมทั้งหมดก็ได้) ร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองออกแล้วตามด้วยการฉายแสง อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดหรือฮอร์โมนหรือทั้งสองอย่างเพิ่มอีก







                            5. ระยะ IV หรือระยะแพร่กระจาย
- การให้ยาฮอร์โมนและ/หรือการให้ยาเคมีบำบัด อาจมีการพิจารณาให้ยา Trastuzumab ร่วมด้วย
- การให้ยา Tyrosine kinase inhibitors ร่วมกับยาเคมีบำบัดแบบรับประทาน (Capecitabine)
- การฉายแสงและ/หรือการผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดและอาการอื่น ๆ
- Bisphosphonate เพื่อลดอาการปวดจากการที่มะเร็งมีการแพร่กระจายไปที่กระดูก





                           6. มะเร็งเต้านมอักเสบ (Inflammatory breast cancer)
- การให้ยาเคมีบำบัด
- การให้ยาเคมีบำบัดและตามด้วยการผ่าตัด (การผ่าตัดอาจเป็นได้ทั้งแบบสงวนเต้านมหรือการผ่าตัดเต้านมทั้งหมดก็ได้) ร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองออกแล้วตามด้วยการฉายแสง อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดหรือฮอร์โมนหรือทั้งสองอย่างเพิ่มอีก





                           7. มะเร็งเต้านมกำเริบ (Recurrent Breast cancer)
- การผ่าตัด (แบบกว้างหรือแบบปรับปรุง) หรือการฉายแสง หรือการรักษาทั้งสองวิธีร่วมกัน
- การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือการรักษาด้วยฮอร์โมน