วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555


อาการแสดงที่มาพบแพทย์
               ศูนย์อนามัยที่ 4 ได้ร่วมกับจังหวัดในเขตสาธารณสุขที่ 4,5 ได้แก่ จังหวัด ราชบุรี กาญจนบุรี  สุพรรณบุรี นครปฐม  สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี  และประจวบคีรีขันธ์  ทำการสำรวจผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม จำนวน  1,387 ราย และกลุ่มที่เป็นโรคที่เต้านมอื่นๆที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านมอีกจำนวน 7,358 ราย รวมทั้งหมด 8,745 ราย   ซึ่งเมื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม พบอาการและอาการแสดงของมะเร็งเต้านมเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้


ก้อนที่เต้านม
             ร้อยละ 69  ของ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มาด้วยเรื่องก้อนที่เต้านม ซึ่งเป็นอาการ/อาการแสดงที่ทำให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์มากที่สุด  ผู้ที่มีก้อนที่เต้านม ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าก้อนนั้นเป็น เนื้องอก เป็นถุงน้ำ (Cyst) หรือเป็นมะเร็ง   แม้แต่แพทย์ที่มีความชำนาญก็แยกลำบากว่าก้อนที่คลำพบนั้นประเภทใด   ต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน  เช่น การตรวจด้วยแมมโมแกรม หรือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)  หรืออาจจะต้องตรวจชิ้นเนื้อกรณีที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน  จะทำให้พบก้อนผิดปกติที่เต้านมขนาดเล็ก ดังรูปด้านซ้าย   ในกรณีที่ไม่เคยตรวจเต้านมเองจะมาพบแพทย์เมื่อก้อนขนาดใหญ่ (บางครั้งพบนานแล้วแต่อายไม่กล้ามาพบแพทย์จึงมาเมื่อก้อนขนาดใหญ่)




เจ็บหรือปวดที่เต้านม
            ร้อยละ  14.6  ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาด้วยอาการเจ็บ หรือ ปวดเต้านม   ส่วนกลุ่มที่ีไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม ร้อยละ 15.7  (ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัสำคัญทางสถิติ)  หรือจะสรุปได้ว่า  อาการเจ็บหรือปวดเต้านม เป็นอาการที่พบได้บ่อยในมะเร็งเต้านมก็จริง แต่อาการปวด หรือเจ็บเต้านม นั้นพบพอๆกันระหว่างกลุ่มที่เป็นมะเร็งเต้านม และกลุ่มทีไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม



พบรอยบุ๋มที่ผิวหนังบริเวณเต้านมหรือเต้านมที่ถูกดึงรั้ง
             ร้อยละ 2.2 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มาด้วยอาการเต้านมถูกดึงรั้งหรือเป็นรอยบุ๋ม   ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม พบเพียง ร้อยละ 0.4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  หรือจะสรุปได้ว่า  อาการแสดงของการถูกดึงรั้งหรือเป็นรอยบุ๋ม นั้นเป็นอาการแสดงของมะเร็ง เต้านมที่พบได้ไม่บ่อย แต่ถ้าพบแล้ว โอกาสที่เป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า (จากภาพ จะเห็นว่าเมื่อยกมือขึ้นจะเห็นรอยดึงรั้งชัดเจน)


มีเลือดหรือ discharge ออกที่เต้านม
              ร้อยละ 1.8  ของมะเร็งเต้านมมีเลือดออกทางหัวนม  ส่วนกลุ่มที่ไม่เป็นมะเร็งเต้านม พบเพียงร้อยละ 0.9  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือสรุปได้ว่า  ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาด้วยเรื่องมีเลือดที่หัวนมแม้จะพบน้อย แต่ถ้าพบแล้วมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่า






เต้านมอับเสบ
             ร้อยละ  1.7 ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาด้วยเรื่อง เต้านมอักเสบ  ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม มาด้วยเรื่องเต้านมอักเสบ ร้อยละ 1.2  ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   ถ้าซักประวัติแล้วว่า เต้านมอักเสบโดยไม่มีเหตุ  เช่นหลังคลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะพบเต้านมอักเสบบ่อย  แต่ถ้าไม่มีสาเหตุให้คิดถึงว่าสามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน ซึ่ง มะเร็งเต้านมที่อักเสบนั้น มักจะพบในหญิงที่มีอายุน้อย  และมีความรุนแรงด้วย


             พบการเปลี่ยนแปลงของสีหรือรูปร่างของเต้านม
              ร้อยละ  1.3 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาด้วยอาการว่าพบการเปลี่ยนแปลงของสีผิว หรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลง เช่นเต้านมทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน (จากภาพแสดงถึงสีผิวที่เปลี่ยนไป และมีก้อนด้วย  ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม พบเพียงร้อยละ 0.3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต  มะเร็งเต้านม  ถ้ามีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง จะทำให้การคลั่งของระบบไหลเวียนเลือดหรือระบบน้ำเหลือง ซึ่งการคั่งดังกล่าว จะทำให้ผิวหนังบริเวณมีสีที่เปลี่ยนไป หรือบางครั้งมีการอักเสบขึ้นก็ได้   นอกจากสีจะเปลี่ยนแล้ว ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงเต้านม เช่นผิวหนังดูหนากว่าปกติ หรือคลำเต้านมแล้วรู้สึกแข็งกว่าเต้านมด้านปกติ


หัวนมผิดปกติ
            ร้อยละ 0.6  ของ ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมมาด้วยเรื่องหัวนมถูกดึงรั้ง  ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช่เป็นมะเร็งเต้านม มาด้วยหัวนมถูกดึงรั้ง ร้อยละ 0.2  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     กล่าวโดยสรุป อาการแสดงของหัวนมถูกดึงรั้งนั้น แม้จะพบน้อย แต่ถ้าพบแล้ว มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่า


ไม่พบอาการ/อาการแสดง แต่มาพบแพทย์ เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรม
             ก้อนที่เต้านม ถ้ามีขนาดเล็กเช่นเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จะคลำด้วยมือไม่พบ  แต่ถ้ามาตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรม  จะสามารถพบความผิดปกติของก้อนเต้านมที่มีขนาดล็กกว่า  1 ซ.ม.   ซึ่งในระยะหลังๆ สามารถวินิจฉัยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น หรือขนาดของก้อนเล็กกว่า 1 ซ.ม.ได้  ในการรายงานผลการตรวจ Mammogram  จะใช้แนวทางเดียวกันที่ The American College of Radiologists  กำหนด ที่เรียกว่า BIRADS (Breast Imaging Reporting and Data System) เพื่อเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่อที่จะ rating mammograms and breast ultrasound images  และกำหนดวิธีการแบ่งประเภท (classification) เพื่อหา  Level of Suspicion (LOS)



Category
Diagnosis
Number of Criteria
0
Incomplete
แมมโมแกรมที่ทำนั้นไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถให้ข้อมูลแก่รังสีแพทย์์เพื่อการวินิจฉัยได้ และควรที่จะทำแมมโมแกรมใหม่ถ้าจำเป็น
1
Negative
ไม่พบความผิดปกติ  แนะนำให้ทำแมมโมแกรมตามแผนการคัดกรองปกติ
2
Benign
ตรวจพบว่าเป็นก้อนที่ไม่ใช่มะเร็ง  แนะนำให้ทำแมมโมแกรมตามแผนการคัดกรองปกติ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น